เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อเรียนรู้ ข้อมูล เรียนรู้การลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม: เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ

week10

หน่วยการเรียนรู้ : สิทธารัตถะ ตอนตื่นจากความหลับ
 เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถอ่านวรรณกรรมจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้ สามารถจำแนกและใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพย และสุภาษิตในชีวิตประจำวันได้รวมทั้งใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์งานที่ต้องการเขียนได้  มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง  


Week

Input

Process

Output

Outcome
๑๐

๒๐ - ๒๓
 ..
๒๕๕๘
โจทย์ :
- สิทธารัตถะ ตอน ตื่นจากความหลับ
- สำนวนสุภาษิต คำพังเพย
Key  Question
- ทำไมสิทธารัตถะจึงไม่ได้บวชเป็นภิกษุเช่นเดียวกับโควินทะ ?

เครื่องมือคิด
 Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านและฟัง
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ภาพวาดประกอบเรื่องที่อ่าน
Mind Mapping : สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฟังเพื่อนๆนำเสนอ


ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- นวนิยายเรื่องสิทธารัตถะ ตอนตื่นจากความหลับ
 - ห้องสมุด
- ภาพสำนวน สุภาษิต
- นิทานที่เกี่ยวกับสำนวนสุภาษิต
- อินเทอร์เน็ต
จันทร์
ชง
นักเรียนอ่าน เรื่องสิทธารัตถะ ตอน ตื่นจากความหลับโดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่  แต่งตอนจบใหม่ 
วาดภาพประกอบ  ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนสรุปความเข้าใจในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่อง
อังคาร
ชง
- ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างพฤติกรรมของตัวละครจากเรื่องสิทธารัตถะ ตอนตื่นจากความหลับตรงกับสำนวนสุภาษิตใดบ้าง
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันตรวจสอบว่าใช่หรือไม่
- ครูให้นักเรียนเล่นเกมทายภาพสำนวนสุภาษิตคำพังเพย
 - นักเรียนวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อตรวจสอบว่าใช่หรือไม่
ใช้
นักเรียนแต่งประโยคให้เป็นเรื่องราวสอดคล้องกับสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตามที่ครูกำหนดให้ ๑๐ คำ
พุธ
เชื่อม
- ครูสุ่มเลือกผลงานของนักเรียนออกมานำเสนอจำนวน ๕คน
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวการแต่งประโยคให้เป็นเรื่องราวสอดคล้องกับคำสำนวนสุภาษิตคำพังเพยอีกครั้ง
- ครูเล่านิทานหรือเรื่องราวสั้นๆ แล้วให้นักเรียนช่วยบอกว่าตรงกับสำนวนสุภาษิตคำพังเพยใด
ชง
- ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างสำนวนสุภาษิตคำพังเพยโดยเรียงตามอักษร ก
- นักเรียนร่วมกันตรวจสอบว่าใช่หรือไม่
เชื่อม
ครูให้นักเรียนจับฉลากตัวอักษรเพื่อเลือกศึกษาเกี่ยวกับสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตามตัวอักษรให้ได้มากที่สุดแล้ววาดภาพประกอบให้สวยงาม
 ใช้
นักเรียนรวบรวมชิ้นงานที่เขียนสำนวนสุภาษิตคำพังเพยตามอักษรมาจัดเรียงเป็นรูปเล่ม
เชื่อม
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับความสำคัญของสำนวนสุภาษิตคำพังเพยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปความเข้าใจในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่อง
- การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สำนวนสุภาษิต คำพังเพย
- การแต่งประโยคให้เป็นเรื่องราวสอดคล้องกับสำนวนสุภาษิตคำพังเพย
- รูปเล่มสำนวนสุภาษิต
ความรู้ :สามารถจำแนกและใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพย และสุภาษิตในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายเกี่ยวกับความสำคัญของสำนวนสุภาษิตที่มีในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ ICT
การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสำนวนสุภาษิต
 ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้วรรณกรรมที่เราอ่านคือเรื่องสิทธารัตถะนั้นก็ค่อนข้างยาว ดังนั้นเราจึงแบ่งกลุ่มอ่านแต่ละตอนเพื่อนำมาพูดคุยกันและแลกเปลี่ยนเล่าให้กันฟังอีกครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในเรื่องที่อ่านอีกครั้งค่ะ ซึ่งพี่ๆก็ตั้งใจในการทำกิจกรรมและรับผิดชอบตอนที่อ่านดีค่ะ อีกทั้งสัปดาห์นี้ฝนตกน้ำในนาก็มีพอสำหรับการปักดำเสียด้วยสิ ดังนั้นพี่ๆมัธยมทั้งหมดจึงได้ช่วยกันถอนกล้ากันทั้งวัน(วันพุธ) เพื่อเตรียมกล้าไว้ปักดำในวันศุกร์ที่จะมีการลงแขกดำนาร่วมกันทั้งโรงเรียนเลยค่ะ และเมื่อมาถึงวันศุกร์ เราก็ร่วมกันดำนาค่ะ สนุกมาก เเดดก็ไม่ร้อนและที่สำคัญดีใจจังที่ปีนี้ชุมชนลำปลายมาศพัฒนาของเราต่างพร้อมพรักในการดำนาครั้งนี้ ทำให้งานเราเสร็จเร็วมาก ประทับใจภาพที่เห็นที่ทุกคนต่างร่วมมือกัน เป็นชุมชนที่เข้มแข็งค่ะ นอกจากนี้ช่วงบ่ายพี่ๆยังมีกิจกรรมร่วมกันคือ Design Thinking Workshop ค่ะ พี่ๆตั้งใจร่วมทำกิจกรรมดีมาก ส่วนกิจกรรมเน้นด้านการคิดเร็ว ความกล้าแสดงออก และความสนุกสนาน ซึ่งคุณครูรู้สึกประทับใจและขอบคุณพี่ๆมัธยมที่มีความตั้งใจในการร่วมทำกิจกรรมต่างๆในสัปดาห์นี้มากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ