เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อเรียนรู้ ข้อมูล เรียนรู้การลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม: เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ

week2


หน่วยการเรียนรู้ : ลิตเติ้ลทรี
เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถอ่านวรรณกรรมจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้  สามารถอธิบายเกี่ยวกับหลักการสร้างคำซ้ำ คำซ้อนได้ สามารถวิเคราะห์และใช้คำซ้ำ คำซ้อนในการสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์ได้ รวมทั้งตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการพูด อ่านและฟัง 


Week

Input

Process

Output

Outcome

๒๕ - ๒๘
..
๒๕๕๘
โจทย์ :
- ลิตเติ้ลทรี ตอน ครรลองชีวิต
- คำซ้ำ คำซ้อน

Key  Question
ครรลองชีวิตหมายความว่าอย่างไร ?

เครื่องมือคิด
Brainstorms : ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่านและศึกษา
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
Mind Mapping:สรุปข้อมูลเรื่องคำซ้ำ คำซ้อน

 ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องสมุด
- ลิตเติ้ลทรี ตอน ครรลองชีวิต
- ตัวอย่างประโยคและข้อความเรื่องคำซ้ำ คำซ้อน

จันทร์
เชื่อม
ทบทวนลิตเติ้ลทรี ที่อ่านผ่านมาแล้ว โดยการตั้งคำถามและตอบคำถาม
 ชง
นักเรียนอ่านเรื่อง ลิตเติ้ลทรี ตอน ครรลองชีวิตโดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
 สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่  แต่งตอนจบใหม่ 
วาดภาพประกอบ  ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนเขียนสรุปโดยวาดภาพประกอบเรื่อง
อังคาร
ชง
 ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ นักเรียนคิดว่าคำซ้ำ คำซ้อนเป็นอย่างไร ?”
เชื่อม
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนศึกษาคำซ้ำ คำซ้อนที่อยู่ในเรื่องลิตเติ้ลทรี ตอน ครรลองชีวิตและนำเสนอ
- วิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อตรวจสอบว่าใช่หรือไม่
ชง
- ครูแจกข้อความและประโยคให้นักเรียนดังต่อไปนี้
ลักษณะของคำซ้ำ
บอกความหมายเป็นพหูพจน์  มักเป็นคำนาม และสรรพนาม เช่น
เด็ก    กำลังร้องเพลง
พี่    โรงเรียน
หนุ่ม ๆ  กำลังเล่นฟุตบอล
บอกความหมายเป็นเอกพจน์   แยกจำนวนออกเป็นส่วน ๆ  มักเป็นคำลักษณนาม เช่น
ล้างชามให้สะอาดเป็นใบ ๆ
อ่านหนังสือเป็นเรื่อง 
ไสกบไม้เป็นแผ่น 
บอกความหมายเน้นหนัก  มักเป็นคำวิเศษณ์  เช่น พูดดัง  ๆ ฟังดี  ๆ นั่งนิ่ง 
 บอกความไม่เน้นหนัก  เช่นเสื้อสีแดง 
กางเกงสีดำ  ๆ บ้านสีขาว 
บอกคำสั่ง  มักเป็นคำกริยา  เน้นความและบอกคำสั่ง  เช่น อยู่เงียบ  ๆ พูดดัง 
ชนิดของคำซ้อน
๑) ความหมายอย่างเดียวกัน  เช่น  เติบโต  อ้วนพี  มากมาย  ข้าทาส  สูญหาย  โง่เขลา ๒)  ความหมายตรงกันข้าม  เช่น  ถูกผิด  ยากง่าย  หนักเบา  สูงต่ำดำขาว ศึกเหนือเสือใต้   ดีร้าย 
ความหมายใกล้เคียงกัน  เรือแพ  หน้าตา  คัดเลือก  ข้าวปลา  เสื้อผ้า
 ฯลฯ
เชื่อม
- แบ่งกลุ่มนักเรียนวิเคราะห์ลักษณะคำซ้ำ คำซ้อน
- วิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อตรวจสอบว่าใช่หรือไม่
พุธ
ใช้
นักเรียนจับคู่ศึกษาเรื่องคำซ้ำ คำซ้อนและนำเสนอความเข้าใจในรูปแบบนิทานเล่มเล็ก
- การอธิบายการสร้างคำซ้ำ คำซ้อน
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   และการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การเขียนสรุปโดยวาดภาพประกอบเรื่องที่อ่าน
-  การวิเคราะห์และศึกษาลักษณะของคำซ้ำ คำซ้อน
- นิทานเล่มเล็กสรุปความเข้าใจเรื่องคำซ้ำ คำซ้อน

ความรู้ : เข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับหลักการสร้างคำซ้ำ คำซ้อนได้ สามารถวิเคราะห์และใช้คำซ้ำ คำซ้อนในการสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์ได้ 
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- การอธิบายหลักการสร้างคำซ้ำ คำซ้อนและการใช้คำซ้ำ คำซ้อนสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์ได้และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอด ให้คนอื่นรับทราบได้
 ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น












1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆม.2 ได้อ่านวรรณกรรมเรื่องลิตเติ้ลทรีทั้งสองตอนพร้อมกันเลยคือ ตอนลิตเติ้ลทรีกับตอนครรลองชีวิต จากนั้นเราก็มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับความเข้าใจในเรื่องที่อ่านร่วมกันอีกครั้งค่ะ แล้วพี่ๆก็มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับหลักการสร้างคำทั้งคำมูล คำสมาส คำสนธิและคำประสม ในเรื่องคำมูลนั้นพี่ๆส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นอย่างไร แต่คำที่ค่อนข้างยากคือสนธิและสมาส ดังนั้นคุณครูจึงให้พี่ๆจับคู่ศึกษาเกี่ยวกับคำสนธิและคำสมาส โดยเริ่มจากคำสนธิก่อน
    ในคาบเรียนต่อมา คุณครูและพี่ๆ จึงได้ร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับลักษณะของคำสนธิ รวมทั้งคำสนธิที่มักพบในชีวิตประจำวัน แล้วคุณครูได้ให้พี่ๆแต่ละคนลองเลือกคำสนธิที่พบในชีวิตประจำวันมาคนละ ๓ คำ เพื่อแต่งเป็นการ์ตูนช่องค่ะ เรื่องคำสมาส คุณครูก็ได้ให้พี่ๆจับคู่ศึกษาอีกเช่นกัน จากนั้นก็มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกันอีกครั้งหนึ่งค่ะ

    ตอบลบ