เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อเรียนรู้ ข้อมูล เรียนรู้การลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม: เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ

week7

หน่วยการเรียนรู้ : สิทธารัตถะ ตอนบุตรพราหมณ์
       เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถอ่านวรรณกรรมจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้ สามารถใช้ภาษาเหมาะสมแก่โอกาส กาลเทศะ และบุคคล รวมทั้งคำราชาศัพท์อย่างเหมาะสม รวมทั้งใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์งานที่ต้องการเขียนได้  มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง  


Week

Input

Process

Output

Outcome

๒๙ มิ..
-
๓ ก..
๒๕๕๘

โจทย์ :
- สิทธารัตถะ ตอน บุตรพราหมณ์
- คำราชาศัพท์

Key  Question
ทำไมใครๆจึงรักและชื่นชมสิทธารัตถะ ?

เครื่องมือคิด
 Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านและฟัง
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ภาพวาดประกอบเรื่องที่อ่าน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- นวนิยายเรื่องสิทธารัตถะ ตอนบุตรพราหมณ์

จันทร์
ชง
นักเรียนอ่าน เรื่องสิทธารัตถะ ตอน  บุตรพราหมณ์ โดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่  แต่งตอนจบใหม่ 
วาดภาพประกอบ  ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนวาดภาพประกอบเรื่องที่อ่าน
อังคาร
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “คำราชาศัพท์แตกต่างจากคำสุภาพอย่างไร ?
เชื่อม
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ชง
-  ครูให้นักเรียนฟังเพลงเกี่ยวกับคำราชาศัพท์
- นักเรียนจับใจความสำคัญของเพลงที่ฟังและให้นักเรียนช่วยกันบอกว่ามีคำราชาศัพท์คำใดบ้างจากเพลงที่ฟัง
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอคำราชาศัพท์จากเพลงที่ฟังรวมทั้งอธิบายความหมายและบอกหลักการใช้คำราชาศัพท์
- วิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อตรวจสอบว่าใช่หรือไม่
พุธ
ชง
- แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆละเท่าๆกันศึกษาเรื่องคำราชาศัพท์โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ
เชื่อม
- แต่ละกลุ่มเตรียมเรื่องที่ศึกษามานำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น รายงาน  เพลง  ละคร ฯลฯ ให้น่าสนใจ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานเรื่องที่ศึกษา
- ครูและเพื่อนนักเรียนช่วยวิจารณ์งานนำเสนอของแต่ละกลุ่ม
ใช้
นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับคำราชาศัพท์
- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
- การจับใจความสำคัญของเพลงที่ฟัง
- การศึกษาเรื่องคำราชาศัพท์และนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น รายงาน  เพลง  ละคร ฯลฯ ให้น่าสนใจ
-  ใบงาน
ความรู้ :สามารถใช้ภาษาเหมาะสมแก่โอกาส กาลเทศะและบุคคล รวมทั้งคำราชาศัพท์อย่างเหมาะสม
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายเกี่ยวกับความสำคัญของคำราชาศัพท์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะ ICT
การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคำราชาศัพท์
 ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น




1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆได้อ่านวรรณกรรมเรื่องใหม่คือเรื่องสิทธารัตถะ ซึ่งก่อนที่จะอ่านเรื่องราวต่างๆจากวรรณกรรมใหม่นี้ คุณครูได้ลองให้พี่ๆคาดเดาว่าเรื่องสิทธารัตถะนี้น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร พี่ๆหลายคนต่างก็แสดงความคิดเห็นว่า น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับศาสนา เกี่ยวกับประเทศอินเดีย ฯลฯ จากนั้นคุณครูจึงได้ให้พี่ๆม.2 อ่านเรื่องสิทธารัตถะ ตอน บุตรพราหมณ์ และร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ทั้งวิเคราะห์ลักษณะของตัวละคร และบอกเหตุผลของพฤติกรรมของตัวละคนจากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งข้อคิดที่ได้จากเรื่องที่อ่าน แล้วคุณครูก็ให้พี่ๆเขียนสรุปเรื่องที่อ่านในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่องค่ะ
    วันต่อมาเราพูดคุยเกี่ยวกับคำที่พบในวรรณกรรมที่อ่านว่าส่วนใหญ่เป็นคำแบบใด ซึ่งพี่ๆทุกคนก็สามารถระบุได้ว่าเป็นคำราชาศัพท์ ดังนั้นสัปดาห์นี้คุณครูจึงได้ให้พี่ๆไปศึกษาเรื่องคำราชาศัพท์อยู่ค่ะ แล้วค่อยมาดูว่าพี่ๆแต่ละคนจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำราชาศัพท์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

    ตอบลบ